วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


 7 สิ่งมหัสจรรย์ยุคปัจจุบัน
   
     กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้[


1.อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ (อังกฤษChannel Tunnelฝรั่งเศสLe tunnel sous la Manche) เป็นอุโมงค์รถไฟใต้ทะเลที่สร้างเชื่อมระหว่างเมืองฟอล์คสโตนมณฑลเค้นท์ บริเตนใหญ่ กับตำบลคอแกลส์ เมืองกาเลส์ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อุโมงค์แห่งนี้สร้างลอดใต้ช่องแคบอังกฤษบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุด ที่มีความกว้าง 34 กิโลเมตร
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษมีความยาวทั้งสิ้น 50.5 กิโลเมตร มีส่วนที่อยู่ใต้ทะเลยาว 37.9 กิโลเมตร ส่วนที่อยู่ใต้น้ำต่ำที่สุดที่ 75 เมตรและลึกสุดที่ 230 เมตร [1][2]
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษก่อสร้างและบริหารงานโดยบริษัท ยูโรทันเนล ซึ่งจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงยูโรสตาร์ การก่อสร้างเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เปิดใช้งานอุโมงค์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 การก่อสร้างใช้งบประมาณ 4,650 ล้านปอนด์ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 80% [3]
แนวคิดในการก่อสร้างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ ได้รับการเสนอมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีการเสนอโครงการต่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1856 ด้วยงบประมาณ 170 ล้านฟรังก์ (7 ล้านปอนด์) [4] และต่อวิลเลียม แกลดสตัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1865 [4] แต่โครงการนี้ได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาด้านการเมือง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ
        
โครงการนี้ถูกนำมาพิจารณาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1955 โดยตัดปัญหาเรื่องการป้องกันประเทศออกไป เนื่องจากในขณะนั้นการรุกรานประเทศสามารถกระทำได้ด้วยการโจมตีทางอากาศ แต่โครงการก็ล่าช้าไปเนื่องจากปัญหาทางการเมืองในสหราชอาณาจักร จนกระทั่งปี ค.ศ. 1981 นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ และนายฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ผู้นำของทั้งสองประเทศจึงได้บรรลุข้อตกลงในการก่อสร้างอุโมงค์แห่งนี้

2.ซีเอ็นทาวเวอร์ (อังกฤษCN Tower) ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองโตรอนโต รัฐออนแทริโอ ประเทศแคนาดา เป็นหอคอยสื่อสารและสังเกตการณ์ สูง 553 เมตร (1,815 ฟุต)[1] เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 และมีความสูงมากกว่าหอคอยออสตานกิโนในมอสโก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ทั้งที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ซีเอ็นทาวเวอร์ได้รับการบันทึกว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดในโลกเป็นเวลาถึง 31 ปี จนถึงวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2007 จึงถูกแทนที่ด้วยอาคารเบิร์จคาลิฟา (ขณะนั้นใช้ชื่อ เบิร์จดูไบ)[2]
ชื่ออาคาร ซีเอ็น ย่อมาจาก "Canadian National Railway" เป็นกิจการรถไฟที่เป็นเจ้าของโครงการก่อสร้างในระยะแรก แต่ในปัจจุบัน นิยมอ้างอิงว่า ซีเอ็น หมายถึง "หอคอยแห่งชาติแคนาดา" (Canada's National Tower)[3] ตัวหอคอยมีภัตตาคารอยู่ที่ชั้นความสูง 1,136 ฟุต และจุดชมทิวทัศน์ที่ความสูง 1,465 ฟุต
ปัจจุบัน ซีเอ็นทาวเวอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามในโลก รองจากเบิร์จคาลิฟาและหอคอยกว่างโจว แต่ยังครองสถิติสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในซีกโลกตะวันตก

3.เขื่อนอิไตปู (Itaipú) เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ซึ่งในอดีตจัดได้ว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1] ก่อนที่เขื่อนสามหุบเขาของจีนจะแล้วเสร็จ เขื่อนอิไตปูสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1984 แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1988
คำว่าอิไตปู แปลว่า"เสียงเพลงจากก้อนหิน"มาจากภาษากวารานิ (Guarani) ชาวอินเดียนแดงเผ่าดั้งเดิม
เขื่อนอิไตปูกั้นแม่น้ำปารานาบริเวณเขตแดนระหว่างประเทศบราซิลกับประเทศปารากวัย จึงทำให้เขื่อนนี้เป็นทั้งผนังกันน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองประเทศอีกด้วย เขื่อนอิไตปูเป็นเขื่อนคอนกรีตชนิดเขื่อนแบบกลวง มีขนาดความสูง 180 เมตร มีความยาวกว่า 8 กิโลเมตร ใช้คอนกรีตในการสร้างกว่า 28 ล้านตัน ซึ่งสามารถสร้างสนามฟุตบอลได้ 210 สนาม และใช้เหล็กมากขนาดสร้างหอไอเฟลได้ 380 หอเลยทีเดียว เมื่อสร้างเสร็จด้านเหนือเขื่อนจึงเกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีเนื้อที่กว่า 1,550 ตารางกิโลเมตร ระยะทางยาวลึกขึ้นไปทางเหนือเขื่อนอีกกว่า 160 กิโลเมตร มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 18 เครื่อง มีกำลังการผลิต 12,600 เมกะวัตต์ จึงสามารถจ่ายไฟให้กับประเทศปารากวัยได้ทั้งประเทศรวมทั้งเมืองใหญ่ของบราซิลทั้งกรุงเซาเปาโล และนครรีโอเดจาเนโร ได้อย่างสบาย แต่ภายหลังได้มีโครงการเพิ่มเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็น 20 เครื่อง ภายในปี 2550 และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 14,000 เมกะวัตต์

4.ตึกเอ็มไพร์สเตท (อังกฤษEmpire State Building) เป็นหนึ่งในอาคารระฟ้าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนเกาะแมนฮัตตัน ในรัฐนิวยอร์ก นครนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา บริเวณจุดตัดของถนน Fifth Avenue และ West 34 Street
นับเป็นอาคารหลังแรกของโลกที่มีความสูงมากกว่า 100 ชั้น ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกัน วิลเลียม เฟรดเดอริค แลมบ์ ( William Frederick Lamb )


5.เดลตาเวิกส์ (อังกฤษDelta Works) เป็นโครงการก่อสร้างชุดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดา ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อกั้นการท่วมของน้ำทะเล โครงการประกอบไปด้วยการสร้างเขื่อน ประตูปิดเปิดน้ำ ที่กั้นเขื่อน การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 1997
   

 6.สะพานโกลเดนเกต (อังกฤษGolden Gate Bridge) ทอดยาวข้ามอ่าวตอนเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาสร้างในสมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ เมื่อปี ค.ศ. 1933 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1937 ตอนกลางสะพานยาว 1,280 เมตร กว้าง 27 เมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 67 เมตร มีทางรถยนต์ 6 ทาง รถบรรทุก 3 ทาง รถไฟ 2 ทาง ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐสะพานโกลเดนเกตกลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ สะพานกลายเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย ปัจจุบันนี้เองผู้คนทั่วโลกเองก็ยังคงรู้จักสะพานโกลเดนเกตและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา และจากผลการสำรวจสถานที่ที่น่าประทับใจของสถาบันสถาปนิกอเมริกัน พบว่าอยู่ในอันดับที่ 5 ของสถานที่ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา


   7คลองปานามา (อังกฤษPanama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร[1] ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี ค.ศ. 2008 มีระวางขับน้ำรวมทั้งสิ้น 309.6 ล้านตัน (คิดเป็นประมาณ 40 ลำต่อวัน ประมาณร้อยละ 5 ของเรือบรรทุกสินค้าทั่วโลก)[2]
แนวความคิดในการขุดคลองปานามาจะมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ แต่ก็ล้มเหลวไป มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต มักมีสาเหตุจากโรคระบาด (มาลาเรียหรือไข้เหลือง) และดินถล่ม จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาดำเนินงานต่อ โดยมีผู้เสียชีวิตราว 5,600 คน จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่15 สิงหาคม ค.ศ. 1914 นับเป็นหนึ่งในโครงการวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุดที่เคยมีมา
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น